75000 – Clone Troopers vs. Droidekas   Leave a comment



Set No.: 75000
Set Name : Clone Troopers vs. Droidekas
Year : 2013
Pieces : 124
Figures : 4 – Clone Trooper Sergeant, Clone Trooper, 2 Destroyer Droid (Pearl Dark Gray Arms)
List Price : $13, Thailand ฿840

IMG_33397a

IMG_33404a

IMG_33392a

Battle Pack ของปี 2013 ยังคงแนวคิดเหมือนปี 2012 คือ มีทั้งสองฝ่าย เพื่อให้คนซื้อสามารถทำ Battle ได้เลย โดยไม่ต้องซื้ออีกชุด สมกับชื่อ “Battle Pack” อย่างแท้จริง

ศูนย์บัญชาการ (Command Center) เป็นศูนย์ย่อยเพื่อถ่ายทอดคำสั่งจากผู้บัญชาการ โดยในชุดนี้มีขนาดกว้าง 8 เซนติเมตร ยาว 11 เซนติเมตร และสูง 8 เซนติเมตร พร้อมลูกเล่น ซ่อนจรวดแบบใช้นิ้วดีด (Flick-fire Missile) ไว้ในฐาน และประตูที่ปิดเปิดได้

Clone Trooper ของชุดนี้เป็นทหารโคลนในภาค Star Wars : Episode II – Attack Of The Clones เป็นทหารโคลนกลุ่มแรกที่เข้าสู่สมรภูมิรบ ซึ่งชุดที่ใส่คือชุดเกราะในระยะที่ 1 หรือ Phase I Armor (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับชุดเกราะได้ที่ Clone Trooper Armor)

ชุดเกราะในระยะที่ 1 นี้ แถบสีที่อยู่บนเกราะจะบ่งบอกถึงระดับยศของทหารแต่ละนาย ได้แก่
1. ไม่มีแถบสี เป็นพลทหาร
2. แถบสีเขียว ยศนายสิบหรือจ่า (Sergeant) บังคับบัญชาทหาร 1 หมู่ (Squad) ซึ่งประกอบไปด้วยพลทหาร 9 นาย
3. แถบสีฟ้า ยศนายร้อยหรือผู้หมวด (Lieutenant) บังคับบัญชาทหาร 1 หมวด (Platoon) ซึ่งประกอบไปด้วยพลทหาร 36 นาย
4. แถบสีแดง ยศร้อยเอกหรือผู้กอง (Captain) บังคับบัญชาทหาร 1 กองร้อย (Company) ซึ่งประกอบไปด้วยพลทหาร 144 นาย
5. แถบสีเหลือง ยศผู้บัญชาการหรือผู้การ (Commander) บังคับบัญชาทหาร 1 กองพล (Regiment) ซึ่งประกอบไปด้วย 4 กองพัน (Battalion) มีพลทหารรวม 2,304 นาย

Destroyer Droid หรือ Droideka ของชุดนี้ เป็นแบบที่ 4 ที่ Lego ทำออกมา Droideka เป็นหุ่นยนต์รบขนาดหนักของฝ่ายสหพันธ์การค้าและฝ่ายแบ่งแยก (Separatists หรือสมาพันธ์อิสระ Conferderacy of Independent Systems – CIS) สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็วโดยการกลิ้งตัว มีอำนาจการยิงที่รุนแรงด้วยปืนใหญ่บลาสเตอร์คู่ (Twin Blaster Cannons) ที่แขนแต่ละข้าง และสามารถป้องกันตัวเองได้อย่างดีด้วยเครืองสร้างเกราะสนามพลัง (Deflector Shield Generator) ซึ่งสามารถสร้างเกราะสนามพลังขึ้นมาป้องกันการระดมยิง หรือแม้กระทั้งดาบแสงหรีอดาบไลท์เซเบอร์ (Lightsaber) ได้ ซึ่งสร้างความหวาดหวั่นให้กับเหล่าเจไดได้ไม่น้อย

Droideka มีทั้งหมด 5 รูปแบบคือ
1. Grapple Droideka หรือ Melee Destroyer Droid ซึ่งเป็น Droideka รุ่นปกติทั่วไปที่สหพันธ์การค้า (Trade Federation) ผลิตขึ้นมา ใช้สำหรับการรบประจัญบาน และถูกใช้ครั้งแรกในสมรภูมิรบดาวนาบู (Battle of Naboo หรือ Invasion of Naboo)
2. Ultra Droideka มีขนาดใหญ่กว่า Droideka ปกติทั่วไป ถูกใช้ในสงครามโคลน โดยฝ่ายแบ่งแยก
3. Droideka Mark II มีประสิทธิภาพกว่า Droideka ปกติ มีทั้งปืนอิออนและบลาสเตอร์ ถูกพัฒนาขึ้นตั้งแต่สมัยสงครามโคลน แต่ถูกนำมาใช้ในสมัยสงครามกลางเมืองกาแล็คติก (Galactic Civil War) โดยองค์กรอาชญากร Zann Consortium ภายใต้การสนับสนุนของแจ๊บบา เดอะ ฮัทท์ (Jabba the Hutt)
4. K3-I Buzzer Droid เป็นหุ่นที่ดัดแปลงจาก Droideka เพื่อใช้บนสถานีอวกาศแกมม่า (Station Gamma) ในสมัยสงครามกลางเมืองกาแล็คติก อ่อนแอกว่าหุ่น Droideka ปกติและไม่มีเกราะสนามพลัง
5. Sniper Droideka โดยที่หัวของหุ่นจะติดตั้งปืนไรเฟิลสำหรับยิงในระยะไกล หรือลอบยิง ถูกนำมาใช้ในสงครามโคลนช่วงสมรภูมิรบดาวคิโรส (Invasion of Kiros)

ถือเป็น Battle Pack ที่น่าสนใจมากชุดหนึ่ง โดยเฉพาะผู้ที่ไม่เคยมี Droideka มาก่อน

IMG_33417a
เปรียบเทียบทหารโคลนในชุดเกราะระยะที่ 1 (Phase I Armor) ที่มีระดับยศต่างๆ กันเรียงจากซ้ายไปขวาคือ Clone Trooper (จากชุดนี้), Clone Trooper Lieutenant (จากชุด 5001709 – Clone Trooper Lieutenant), Clone Trooper Commander (จากชุด 75019 – AT-TE), Clone Trooper Captain (จากชุด 75021 – Republic Gunship) และ Clone Trooper Sergeant (ของชุดนี้)

เปรียบเทียบ Droideka ของชุดนี้ (ซ้ายสุดตัวแรก) กับ Droideka จากชุด 7877 – Naboo Starfighter ปี 2011 (ตัวที่สอง), ชุด 7662 – Trade Federation MTT ปี 2007 (ตัวที่สาม) และจากชุด 7203 – Jedi Defense I ปี 2002 (ตัวสุดท้าย)
IMG_33408a
เปรียบเทียบจากด้านหน้า

IMG_33412a
เปรียบเทียบจากด้านข้าง



(ภาพจาก starwars.wikia.com)

Posted 25 สิงหาคม 2014 by goongtomyum in Star Wars Episode II

Tagged with , , ,

ใส่ความเห็น